130 หมู่ 6 ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
นางอริสา ตันสุวรรณ โทร 081-3954164
ชุมชนบ้านโคกหัวข้าว เป็นชุมชนโบราณ เป็นแหล่งอารยธรรม ซึ่งได้มีการขุดค้นพบกระดูกของคนโบราณและของใช้ในสมัยโบราณที่บริเวณโบสถ์ดินเก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี มีคนเชื้อสายไทยพวน คือกลุ่มคนไทยที่มีศิลปะวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้ได้เป็นอย่างดี ได้บรรจงถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมสู่ผลิตภัณฑ์จักสานจากเส้นพลาสติกเป็นกระเป๋า ตะกร้า กระบอกน้ำ โดยนำเส้นพลาสติกที่เหลือใช้จากโรงงานนำมาแปรรูปโดยจักสารลวดลาย กลุ่มเกษตรกรที่ทำนาทำไร่และหลังจากว่างเว้นจากการทำการเกษตรก็มีการทำอาชีพเสริมโดยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและการทำผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก ผลิตภัณฑ์จากเชือก ผลิตภัณฑ์จากผ้า ไม้กวาดจากดอกหญ้า พืชผัก และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
ชุมชนบ้านโคกหัวข้าวในอดีตมีชื่อว่าบ้านหลุมข้าว เนื่องจากบริเวณของหมู่บ้านแห่งนี้เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำทรัพย์ออกตลอดทั้งปี และมีลำธารไหลผ่านใจกลางของหมู่บ้าน เป็นชุมชนโบราณ เป็นแหล่งอารยธรรม ซึ่งได้มีการขุดค้นพบกระดูกของคนโบราณและของใช้ในสมัยโบราณที่บริเวณโบสถ์ดินเก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี ในสมัยพุทธศักราช 2321 มีชาวลาวพวนมาตั้งถิ่นฐานในบ้านโคกหัวข้าว ซึ่งชาวลาวพวนจะมีภาษาพูด ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง ต่อมาคนรุ่นหลังได้มีการเปลี่ยนเป็นชาวไทยพวน จึงนับได้ว่าชุมชนไทยพวนนี้มีอายุได้ประมาณ 230 ปี สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีไทยพวนของอำเภอพนมสารคาม (แต่งกายไทยพวน) มีนางอริสา ต้นสุวรรณ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่ 3 ตามรอยพ่อ ในพื้นที่ตำบลท่าถ่านมีคนหลากหลายเชื้อสาย และเชื้อสายไทยพวน คือกลุ่มคนไทยที่มีศิลปะวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้ได้เป็นอย่างดี ได้บรรจงถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมสู่ผลิตภัณฑ์จักสานจากเส้นพลาสติกเป็นกระเป๋า ตะกร้า กระบอกน้ำ โดยนำเส้นพลาสติกที่เหลือใช้จากโรงงานนำมาแปรรูปโดยจักสารลวดลาย “ตาแหลว” ซึ่งมาจากประเพณีรับขวัญข้าวไหว้แม่โพสพของชุมชนไทยพวน ด้วยฝีมืออันงดงามประณีตแสดงถึงอัตลักษณ์ของไทยพวนได้เป็นอย่างดีที่สามารถรู้สึกได้ทันทีที่สัมผัส สร้างความภาคภูมิใจ เป็นที่รู้จัก เป็นของฝากที่บ่งบอกความเป็นชุมชนผ่านข้าวของเครื่องใช้ คือสินค้า “กะต่า ไทบ๊าน” กลุ่มเกษตรกรที่ทำนาทำไร่และหลังจากว่างเว้นจากการทำการเกษตรก็มีการทำอาชีพเสริมโดยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและการทำผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก ผลิตภัณฑ์จากเชือก ผลิตภัณฑ์จากผ้า และไม้กวาดจากดอกหญ้า ต่อมาเข้าร่วมโครงการ9101 ฯ จากโครงการฯเห็นว่าทางกลุ่มมีพร้อมและมีความเข็มแข็ง สามัคคีและที่สำคัญรักในการเรียนรู้จึงแนะนำให้กลุ่มมาจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนหมู่ 3 ตามรอยพ่อตำบลท่าถ่าน ในปี 2561 ที่ตั้งเลขที่ 68 หมู่ 3 ตำบลท่าถ่าน สมาชิกรวม13 ราย
ชมสาธิตวิธีการเพาะเห็ดครบวงจร, กระบวนการถ่ายทอดวิธีการแปรรูปเห็ด, สาธิตเครื่องจักสานต่างๆ, การแสดงศิลปะพื้นบ้านชาวไทยพวน